เมนู

ฐานะว่า กาล ได้แก่ กาลมีกาลเช้าและเย็นเป็นต้น และกาลมีวัย
เป็นหนุ่มสาวมีเรี่ยวแรงและมีความเพียรเป็นต้น.
ฐานะว่า โอกาส ได้แก่ สถานทีมีอาทิอย่างนี้ คือ บ้าน ป่า
ประตูเรือน ท่ามกลางเรือน ถนน รถ หรือทาง 3 แพร่ง.
ฐานะว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธมีอาทิอย่างนั้น คือ ดาบ ลูกศร หรือหอก.
ฐานะว่า อิริยาบถ ได้แก่ อิริยาบถมีอาทิอย่างนี้ คือ การเดิน
หรือนั่ง ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าให้ตาย.
ฐานะว่า กิริยาพิเศษ ได้แก่ กิริยาที่ทำมีอาทิอย่างนี้ คือ แทง ตัด
ทำลาย ถลกหนังศีรษะทำให้เกลี้ยงเหมือนสังข์*.

[อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า]


ก็ถ้าหากว่า ภิกษุผู้รับสั่งทำให้วัตถุพลาดไป ไพล่ไปฆ่าคนอื่นจาก
บุคคลที่ผู้สั่ง สั่งให้ฆ่า, หรือถูกสั่งว่า ท่านจงประหารข้างหน้าฆ่าให้ตาย
ไพล่ไปประหารข้างหลัง หรือข้าง ๆ หรือที่อวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งให้ตายไป,
ข้อผูกพันทางกรรมย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง, ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้รับสั่งเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้รับสั่ง ไม่ทำวัตถุให้พลาดไป ฆ่าผู้นั้น
ตายตามที่สั่งไว้. ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่เธอทั้ง 2 รูป คือ แก่ผู้สั่ง
ในขณะที่สั่ง ผู้รับสั่งในขณะที่ประหาร. ก็ในเรื่องวัตถุนี้ ความแปลกกันแห่ง
กรรมและความแปลกกันแห่งอาบัติ ย่อมมี เพราะความแปลกกันแห่งวัตถุ.
บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในวัตถุอย่างนี้ก่อน.
//* ความหมายของศัพท์นี้ ในสารัตถทีปนี 2/405 อธิบายไว้ว่า ต้องตัดหนังออก (จากศีรษะ)
//กำหนดเพียงหมวกหู และหลุมคอ แล้วเอาก้อนกรวดขัดกะโหลกศีรษะให้มีสีขาวเหมือนสังข์.

[อธิบายกาลที่สั่งให้ทำการฆ่า]


ส่วนในกาล มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใดได้รับคำสั่งว่า ท่านจงฆ่า
ให้ตายในเวลาเช้า ไม่กำหนดว่า วันนี้ หรือพรุ่งนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขา
ตายเวลาเช้า ในกาลใดกาลหนึ่ง ความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี. ส่วนภิกษุรูปใด
ได้รับสั่งว่า ท่านจงฆ่าให้ตายในเวลาเช้าวันนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขาตาย
ในเวลาเที่ยงวัน หรือเวลาเย็น หรือเวลาเช้าพรุ่งนี้, ย่อมผิดที่หมาย, สำหรับ
ภิกษุผู้สั่ง ไม่มีความผูกพันทางกรรม. แม้ในเมื่อภิกษุพยายามจะฆ่าให้ตายใน
เวลาเช้า แต่กลายเป็นเที่ยงวันไป ก็มีนัยเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบความ
ถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในประเภทแห่งกาลทั้งปวงโดยนัยนี้.

[อธิบายโอกาสที่สั่งให้ทำการฆ่า]


แม้ในโอกาส มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจงฆ่า
บุคคลนั่น ผู้ยืนอยู่ในบ้านให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลนั้นตายในที่
ใดที่หนึ่ง. ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใดถูกสั่งกำหนดไว้ว่า จงฆ่าให้ตาย
ในบ้านเท่านั้น, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้นฆ่าเขาตายในป่า, อนึ่ง เธอถูกสั่งว่า จง
ฆ่าให้ตายในป่า, แต่เธอฆ่าเขาตายในบ้าน, ถูกสั่งว่า จงฆ่าให้ตายที่ประตู
ภายในบ้าน ฆ่าเขาตายตรงท่ามกลางเรือน, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบ
ความถูกที่หมายและผิดที่หมายในความต่างกันแห่งโอกาสทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายอาวุธที่เป็นเครื่องมือใช่ให้ฆ่า]


แม้ในอาวุธ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่าท่านจงเอาอาวุธ
ฆ่าให้ตาย ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ดาบ หรือลูกศร, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น เอาอาวุธ
ชนิดใดชนิดหนึ่งฆ่าให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า
จงใช้ดาบฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ใช้ลูกศรฆ่า, หรือถูกสั่งว่า จงใช้ดาบ